เศษอาหารส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร พร้อมแนวทางการลดขยะอาหารที่สามารถทำได้จริง
เศษอาหาร เป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกมองข้าม จริงหรือ? แล้วทำไมขยะอาหารถึงมีผลต่อเศรษฐกิจ? เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน พร้อมทั้งบอกแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดขยะอาหารล้นโลก
ขยะอาหารเกิดจาก เศษอาหารที่เราทุกคนทานเหลือทิ้งกันในแต่ละมื้อ ทั้งอาหารที่ยังทานได้ อาหารเน่าเสียจากการจัดเก็บไม่ดี อาหารที่ถูกจัดตกแต่งเพื่อความสวยงามเท่านั้น และสุดท้ายจบลงที่การ “ทิ้ง” ไม่ใช่การกิน!
ต้องยอมรับว่าในหลาย ๆ ประเทศที่ยังคงอุดมสมบูรณ์และสามารถกักตุนอาหารจุนเจือให้กับประชากรได้อย่างไม่ขัดสน แต่กลับต้องประสบกับปัญหาขยะเศษอาหารล้นเมือง (food waste) ในขณะที่ประเทศยังไม่พัฒนาต้องเผชิญกับปัญหา “ขาดแคลนอาหาร” (food loss) ที่ในแต่ละวันแทบจะไม่มีอาหารให้อิ่มท้อง ช่างเป็นความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว!
ได้มีการทำงานวิจัยขยะอาหารในสหรัฐอเมริกาพบว่า คนอเมริกันทิ้งอาหารที่ยังกินได้เฉลี่ยคนละเกือบครึ่งกิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณ 0.4 – 0.5 kg / วัน และเมื่อรวมกันในแต่ละเดือน ไปจนกระทั่งในแต่ละปี คุณพอจะนึกออกไหมว่า มันจะมากมหาศาลเท่าไร แน่นอนมันจะเป็นปริมาณหลายร้อยตัน ที่ถ้านำไปแจกจ่ายให้กับประเทศที่ยากไร้ จะช่วยให้อีกหลายล้านชีวิตไม่ต้องผจญกับความอดอยาก เพราะมีอาหารกินอิ่ม แทนที่จะเป็นเพียงแค่ “ขยะเศษอาหาร”
ขยะเศษอาหารในอเมริกาส่วนใหญ่มาจากต้นทางอย่างครัวเรือนมากกว่า 80% ด้วยหลายปัจจัย เช่น ซื้ออาหารกักตุนเยอะจนกินไม่ทัน สับสนวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลาก หรือเลือกทานแต่อาหารที่มีแต่ความสวยงาม ในขณะที่อาหารไม่สมประกอบ จะถูกโยนทิ้งลงถังขยะ! ฟังดูแล้วมันไม่น่าเป็นไปได้ แค่อาหารที่ไม่สวยจะถูกโยนทิ้งเนี๊ยะนะ? แต่ใช่ มันเป็นความจริง การคัดเลือกอาหารที่มีมาตรฐาน มีความดูดี ดูสวยงานเท่านั้นถึงจะถูกเลือกขึ้นชั้นวางสินค้า ไม่ว่าจะเป็นร้านขายของชำ หรือตามซุปเปอร์มาเก็ต
ทำไมเศษอาหารส่งผลต่อเศรษฐกิจ
ต้องใช้ทรัพยากรเท่าไหร่เพื่อให้ได้อาหารมา? คุณพอจะรู้ไหมว่ากว่าจะมาเป็นอาหารให้เราทานแต่ละมื้อ ไม่ว่าจะเป็นผัก 1 กำ ผลไม้ 1 ผล หรือแม้แต่เพียงแค่ ไข่ไก่ 1 ฟอง คุณรู้ไหมว่า ต้องผ่านขั้นตอนอะไรมาบ้าง? หากคุณตอบว่า สวนผัก หรือ ฟาร์มเลี้ยงไก่ .. ใช่แล้ว แต่คำตอบไม่ได้มีเพียงแค่นั้น
ผักที่คุณโยนทิ้ง 1 ก้าน เศษหมู 1 ชิ้น หรือ ไข่ที่คุณโยนทิ้งไป 1 ฟองนั้น มันประกอบไปด้วยน้ำหลายพันลิตร ชีวิตสัตว์ที่ถูกจำกัดอิสระภาพ โดนกักขังหน่วงเหนี่ยว และสุดท้ายก็โดนฆ่าเป็นอาหาร ฯลฯ เพราะอาหารทุกชนิดล้วนแต่ต้องใช้ต้นทุน ตั้งแต่ทรัพยากรของผืนดิน ที่ต้องมีการบุกรุกที่อาศัยของชนเผ่าเดิมหรือสัตว์หลายชนิด เพื่อนำมาทำที่ทำกิน เพาะปลูก ทำฟาร์ม แล้วไหนจะแร่ธาตุ น้ำ ปุ๋ย สภาพอากาศ พลังงาน และการใช้แรงงานในส่วนของการผลิต การแปรรูป การแพ็ค การจัดส่ง รวมไปถึงระบบขนส่งที่นำผลผลิตจากต้นทาง ไปสู่ตลาดการจำหน่าย และกว่าจะถึงมือผู้บริโภคที่เป็นปลายทาง องค์ประกอบมากมายที่กล่าวมาทั้งหมด ล้วนแต่เป็นการหมดเปลืองพลังงานและมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น แต่ความยากลำบากเหล่านั้นกลับถูกทิ้งลงอย่างไร้ค่า ซึ่งมันมักจะเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือแม้แต่ประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย!
อาหารวัตถุดิบกว่า 1.3 พันล้านตัน / ปี ที่สูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ จากห่วงโซ่อุปทานที่มีตัวแปรหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมของอาหาร การแปรรูปของอาหาร ที่ถูกคัด ตกแต่ง และตัดทิ้ง ทำให้สูญเสียอาหารไปประมาณ 30-35% ของอาหารทั้งหมด ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ ไม่ใช่จากธรรมชาติ จนกลายเป็นปัญหาขยะอาหาร ที่ตรงกันข้ามกับการสูญเสียอาหาร (food loss) จากกระบวนการเพาะปลูกในประเทศที่ยังด้อยการพัฒนาและเทคโนโลยี อย่างในภูมิภาคแอฟริกา ที่ 10-20% ของพื้นที่การเกษตรมักถูกรบกวนด้วยศัตรูพืชอย่าง สัตว์ฟันแทะและแมลงต่าง ๆ ส่งผลให้สูญเสียรายได้ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรืออาจเทียบเท่าได้กับอาหารที่สามารถหล่อเลี้ยงผู้คนได้ราว ๆ 50 ล้านคน / ปี เลยทีเดียว
ทำไมขยะเศษอาหารจึงเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่มองข้าม
ปัญหาด้านจัดการขยะที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ มักจะมุ่งเป้าไปที่ขยะพลาสติก เพราะเป็นขยะที่ใช้เวลาในการย่อยสลายนานเป็นทศวรรษ แต่เมื่อจัดอันดับสาเหตุของปัญหาขยะ ขยะอาหาร ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกใหญ่เป็นอันดับ 3 ที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้
ทั้งที่ผลกระทบจากขยะเศษอาหารส่งผลอันเลวร้ายต่อระบบนิเวศน์ แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าอาหารสามาถย่อยสลายได้ เพียงแค่นำไปใส่ต้นไม้ ฝังลงดิน เดี๋ยวก็สลายกลายเป็นปุ๋ยได้เอง
เศษอาหารทิ้งที่ไหน และการทิ้งเศษอาหารมีผลกระทบกับอะไรบ้าง
ขยะอาหารจากต้นทางทั้งจากครัวเรือนและชุมชน จะถูกลำเลียงนำไปกองรวมกันยังบ่อขยะ เพื่อรอการกำจัดในหลุมฝังกลบ โดยในกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ จะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะ “ก๊าซมีเทน” ที่ถึงแม้ว่าจะอยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นระยะเวลาสั้นกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่โมเลกุลของก๊าซมีเทนสามารถทำให้เกิดความร้อนได้มากกว่า 25 เท่า!! และเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมขยะเศษอาหารถึงก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Wariming) ใหญ่เป็นอันดับ 3 นั่นเอง
แนวทางป้องกันและช่วยลดขยะเศษอาหาร
ปัจจุบันมีหลายมาตรการจากหลายหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาขยะอาหาร โดยร้านค้าปลีกจะมีการนำอาหารที่จำหน่ายไม่หมดในแต่ละวัน และอาหารที่ใกล้หมดอายุ นำมาจำหน่ายลดราคา และแบ่งส่วนหนึ่งนำไปมอบให้กับกับผู้ยากไร้ เป็นการช่วยลดขยะอาหารและลดงบประมาณสำหรับใช้ในการกำจัดขยะ ส่วนในภาคอุตสาหกรรมจะมีการนำเศษวัตถุดิบเหลือใช้นำไปรีไซเคิลเป็นปุ๋ยบำรุงดินและต้นไม้ ใช้ทำเป็นก๊าซชีวภาพ (Biogas) นำส่วนที่ยังคงมีสารอาหารไปสกัดหรือแปรรูปเป็นอาหารสัตว์สำเร็จรูป เพื่อลดขยะให้เป็นศูนย์ (Zero waste)
ส่วนแนวทางการลดขยะเศษอาหารสำหรับครัวเรือนและชุมชน สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- วางแผนในการซื้ออาหารและวัตถุดิบการปรุงอาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันซื้ออาหารมากเกินจำเป็น
- ปรุงอาหารเท่าที่ทานเท่านั้น เพื่อป้องกันอาหารเหลือทิ้งจากการทานไม่หมด
- ปรับเปลี่ยน สรรสร้างปรุงเมนูใหม่จากอาหารเหลือ หรือจากอาหารใกล้หมดอายุ
- หาวิธีการเก็บรักษาอาหารให้เก็บได้นาน ๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีปริมาณมากจนอาจทานไม่ทัน เพื่อลดการทิ้งอาหารเน่าเสียหรือหมดอายุ
- อาหารสำเร็จรูป อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง ที่ระบุ “ควรบริโภคก่อน” หรือกำกับด้วยอักษรตัวย่อภาษาอังกฤษว่า BB หรือ BBE ซึ่งย่อมาจาก Best Before / Best Before End คือ อาหารที่ยังคงสามารถทานได้โดยไม่มีอันตรายใด ๆ เพียงแต่ความสดและคุณค่าทางอาหารอาจเสื่อมลงเท่านั้น หลายคนที่มักเข้าใจผิดและทิ้งอาหารที่ยังกินได้อย่างน่าเสียดาย
- ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร เป็นปุ๋ยออแกนิค ไร้สารเคมี เป็นการรีไซเคิลขยะอาหาร จากปลายทางของผลผลิต กลับสู่ต้นทางของการผลิต ช่วยลดขยะให้เป็นศูนย์
แต่ด้วยสังคมคนยุคปัจจุบัน รูปแบบที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไปเป็นตึกและอาคารสูง ทำให้มีพื้นที่จำกัด ไม่สะดวกต่อการนำเศษอาหารทำปุ๋ยหมักแบบเดิม ๆ ที่จะต้องใช้พื้นที่ในการฝังกลบ ดังนั้น เพื่อการจัดการขยะเศษอาหารให้เป็น Zero waste อย่างแท้จริง Hass Thailand จึงได้มีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีผลิต เครื่องกำจัดเศษอาหาร ที่จะช่วยแก้ pain point ได้อย่างตรงจุด และตอบโจทย์กับวิถีชีวิตคนยุคใหม่ ให้สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นมิตร และมีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน