19 C Mumbai
Friday 19th April 2024
กาแฟประเภทไหนจะที่เสี่ยงโรคน้อยที่สุด
By

กาแฟประเภทไหนจะที่เสี่ยงโรคน้อยที่สุด

การดื่มเครื่องดื่มกาแฟที่ผสมคาเฟอีน อาจให้พลังมากกว่าการปลุกคุณในตอนเช้า แต่คุณเคยคำนึงมั้ยว่าปริมาณที่เราควรได้รับในแต่ละวันมันควรจะเป็นเท่าไร เพื่อไม่ให้ทำลายสุขภาพเรา

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Annals of Internal Medicine กล่าวว่า การดื่มกาแฟที่ใส่ความหวานกับกาแฟที่ไม่ใส่นั้น ก็สามารถมีความเสี่ยงเสียชีวิตต่ำๆเหมือนกัน ถ้าเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ดื่มกาแฟ นักวิจัยได้สำรวจผู้เข้าร่วม 171,616 คนในสหราชอาณาจักรถึงห้าครั้งในช่วงหนึ่งปีเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของพวกเขา รวมถึงนิสัยการดื่มกาแฟของพวกเขาด้วย จากนั้นในเจ็ดปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นหาใบมรณะบัตรเพื่อดูว่าใครเสียชีวิตโดยเฉลี่ย โดยมีผู้เข้าร่วมมีอายุระหว่าง 37 ถึง 73 ปี และรายงานว่าในขณะที่ทำการสำรวจ พวกเขาไม่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือมะเร็ง 

ผลการวิจัย ของ ดร. คริสติน่า วี รองศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ที่ Harvard Medical School พบว่า สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟ(เพิ่มความหวาน) ในปริมาณที่พอดี ซึ่งกำหนดไว้ที่ 1.5 ถึง 3.5 ถ้วยต่อวัน เสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อยลงประมาณ 30% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ ในขณะที่ ผู้ดื่มกาแฟไม่ใส่น้ำตาลมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตน้อยลงในประมาณ 16% ถึง 29% เมื่อเทียบกับผู้ไม่ดื่มกาแฟ 

กาแฟส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

ดร. แดน ลูว์ หน้าทีมวิจัย จากภาควิชาระบาดวิทยาที่ Southern Medical University กล่าวว่า การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการดื่มกาแฟสามารถปกป้องหัวใจและช่วยรักษาโรคอื่นๆได้ และ ใบวิจัยของปี 2021 บอกว่า นอกจากนี้ยังอาจลดความเสี่ยงของปัญหาตับ 

กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมของทั่วโลก มันมีสารอาหารบางอย่างเช่นคาเฟอีน เนื่องจากกาแฟได้รับความนิยมอย่างมาก ผู้บริโภคและนักวิจัยต่างก็มีส่วนได้เสียในการทำความเข้าใจผลกระทบของเครื่องดื่มที่มีต่อสุขภาพ จากงานวิจัยล่าสุด เมื่อไม่นานนี้พบว่า การดื่มกาแฟหนึ่งถึงสี่ถ้วยต่อวันถือได้ว่ามีความปลอดภัย ในปริมาณคาเฟอีนสูงสุด 400 มก. ต่อวัน สาวกนักดื่มกาแฟอาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพน้อยลง เช่น โรคเบาหวาน และโรคอ้วน 

นอกจากนี้การบริโภคกาแฟยังลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด อีกทั้งยังช่วยเผาผลาญไขมัน เพราะคาเฟอีนเป็นที่ทราบกันดีว่าสามารถกระตุ้นการสร้างอุณหภูมิ (thermogenesis) ซึ่งเป็นวิธีที่ร่างกายของคุณเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานได้ อีกทั้งมันยังสามารถปกป้องตับของคุณได้ ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมินนิโซตาพบว่าการดื่มกาแฟในปริมาณมากช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งตับ ซึ่งเป็นมะเร็งตับที่พบได้บ่อยที่สุด อีกทั้งการดื่มกาแฟหนึ่งแก้วจะเพิ่มปริมาณแคลอรีที่ร่างกายเผาผลาญตลอดทั้งวัน

นาวีด สาตาร์ ศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์การเผาผลาญที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์เสนอว่า “ฉันขอแนะนำให้คนติดกาแฟหรือชา ที่ไม่มีน้ำตาล ซึ่งคนส่วนใหญ่สามารถปรับตัวที่จะดื่มมันได้ และพยายามทำสิ่งอื่นๆ เช่น เคลื่อนไหวมากขึ้น กิน และนอนหลับได้ดีขึ้น” ถึงอย่างไรก็ตาม วี เสริมอีกว่า ดูเหมือนว่าการดื่มกาแฟ ไม่ว่าจะไม่ใส่น้ำตาลหรือใส่น้ำตาลในปริมาณที่พอเหมาะ ก็อาจไม่เป็นอันตรายต่อคนส่วนใหญ่

กุนเทอร์ คุห์นเล ศาสตราจารย์ด้านโภชนาการและวิทยาศาสตร์การอาหารแห่งมหาวิทยาลัยเรดดิ้งในสหราชอาณาจักร กล่าวว่า กาแฟแต่ละประเภทมีประสิทธิภาพต่างกัน ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการผลิต โดยเฉพาะชนิดมีสารประกอบฟีนอลมีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ โดยสารประกอบทางเคมีเหล่านั้นส่งผลต่อรสชาติและกลิ่นหอมของกาแฟและมีคุณค่าเพราะสามารถทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและมีคุณสมบัติต่อต้านการอักเสบและริ้วรอย

กาแฟ 2 สองสายพันธุ์ที่พบสารฟีนอลมากที่สุดคือ กาแฟอาราบิก้า และโรบัสต้า และการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากาแฟโรบัสต้ามีปริมาณฟีนอลสูงกว่ากาแฟอาราบิก้า 

ส่วนเมล็ดกาแฟสีเขียวที่ไม่ผ่านการคั่วมีสารฟีนอลในปริมาณสูงเช่นกัน แต่กลิ่นอาจไม่ค่อยดีเมื่อชงกาแฟ ทำให้ส่วนใหญ่ก่อนที่จะชงกาแฟ จะต้องทำการคั่วเมล็ดกาแฟก่อน อย่างไรก็ตามสารประกอบฟีนอลบางชนิดสามารถแตกตัวได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการคั่ว และขึ้นอยู่กับวิธีการชง กาแฟอาจมีไดเทอร์พีนในระดับสูง ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมีที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ จากการศึกษาในปี 2016  กล่าวว่า กาแฟต้มและกาแฟเฟรนช์เพรสมีสารไดเทอร์พีนมากสุด และ กาแฟมอคค่าและเอสเพรสโซมีไดเทอร์พีนในปริมาณปานกลาง ในขณะที่กาแฟสำเร็จรูปหรือกาแฟที่กรองแล้วมีปริมาณไดเทอร์พีนน้อยที่สุด

  • 2 Comments
  • March 30, 2020

Comments

  1. Peter Parker
    February 3, 2020

    It might be difficult to start all over especially after a personal drama

    1. Henry Sanders
      February 3, 2020

      True, but we can find help among people who have dealt with these issues

Comments are closed.