19 C Mumbai
Saturday 21st December 2024
วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดในหน้าฝน
By Willie Phillips

วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดในหน้าฝน

ไฟดูด คืออันตรายฮอตฮิตช่วงหน้าฝน ยิ่งช่วงนี้ฝนกระหน่ำเทลงมาแทบทุกวัน ทำให้อากาศชื้นและเต็มไปด้วยน้ำ เสี่ยงให้เกิดอันตรายหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว หรือสายไฟชำรุดใกล้แหล่งน้ำขัง กระแสไฟอาจไหลมาตามน้ำ ทำให้คนที่เดินลุยน้ำโดนไฟดูดจนได้รับอันตราย บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต 

นอกจากนี้ บ้านและที่อยู่อาศัยที่ระบบไฟฟ้าเริ่มเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ก็อาจเป็นเหตุให้เกิด ไฟดูด ไฟช็อต หรือไฟรั่ว และเกิดเพลิงไหม้ สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้เช่นกัน 

ไฟช็อตกับไฟดูดต่างกันอย่างไร   

บางคนอาจสงสัยว่า ไฟช็อตกับไฟดูดเหมือนหรือต่างกันใช่ไหม มาทำความเข้าใจกันสักหน่อย 

ไฟฟ้าช็อต หรือ ไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) 

ไฟฟ้าช็อต คือ การที่กระแสไฟฟ้าไหลจากสายไฟเส้นหนึ่งไปยังสายไฟอีกเส้น โดยไม่ผ่านความต้านทานหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า เกิดกระแสไฟฟ้าไหลจำนวนมาก และมีความร้อนสูงมากด้วย 

สาเหตุของไฟช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจร 

  • ฉนวนสายไฟฟ้าชำรุด เก่า เสื่อมสภาพ ทรุดโทรม 
  • สายไฟหรือกระแสไฟ 2 จุด แตะกันโดยบังเอิญ หรืออาจด้วยอุบัติเหตุ และเกิดประกายไฟ

ไฟดูด หรือ ไฟฟ้าดูด (Electric Shock) 

ไฟดูด คือ การที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมนุษย์ลงสู่พื้นดิน โดยมีอาการไฟดูดคือ กล้ามเนื้อเกร็ง มีแผลไหม้ เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานผิดจังหวะ เต้นอ่อนลงและอาจหยุดเต้น จนทำให้เสียชีวิตในที่สุด 

ไฟดูดเกิดจากอะไร

ไฟดูดเกิดจากการที่ร่างกายสัมผัสกับพื้นที่มีไฟฟ้ารั่ว เช่น สัมผัสกับอุปกรณ์ที่เสียหาย หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด หรือเดินลุยน้ำที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย จนได้รับอาการบาดเจ็บ โดยระดับความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับระดับกระแสไฟฟ้า รวมไปถึงบริเวณที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน หากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหัวใจอย่างรุนแรง อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ 

สาเหตุของการถูกไฟดูด 

สามารเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด ทำให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วออกมา และเมื่อไปสัมผัสโดยตรง หรือทางอ้อมด้วยการผ่านสื่อนำไฟฟ้า อย่างเช่น น้ำ ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายลงสู่พื้นดิน หรือที่เราเรียกกันว่า ถูกไฟดูด นั่นเอง 

ทำอย่างไรเมื่อพบคนถูกคนไฟดูด 

สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อพบคนถูกไฟดูด คือ รีบตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุด เช่น ปิดเมนสวิตซ์ ถอดปลั๊ก ทำการปฐมพยาบาลไฟดูดผู้บาดเจ็บ และนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด 

วิธีป้องกันไฟดูดง่าย ๆ 

1. ไม่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขณะที่ร่างกายเปียกชื้น 

เพราะ น้ำ เป็นสื่อนำไฟฟ้าได้ดี เราจึงไม่ควรใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตอนร่างกายหรือมือเปียกอยู่เด็ดขาด อีกทั้งไม่ควรยืนบนพื้นที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำเจ่อนองขณะที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด และงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกน้ำอยู่เช่นกัน เพราะเสี่ยงต่อการถูกไฟดูดได้หากมีไฟรั่ว 

2. หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและรอบบ้านอยู่เสมอ 

คอยตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพราะมีหลายปัจจัยด้วยกันที่มีผลต่อการชำรุดและความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งการโดนของหนักกดทับ สภาพอากาศ สัตว์กัดแทะ หรือเสื่อมสภาพตามกาลเวลา บวม แตก เก่า แห้งกรอบ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กระแสไฟฟ้ารั่วได้ และยิ่งเสี่ยงให้เกิดอันตรายมากขึ้นไปอีกในช่วงหน้าฝน ดังนั้นหากพบจุดไหนที่ชำรุด ควรเรียกช่างมาซ่อมแซมทันที โดยวิธีเช็คระบบไฟเบื้องต้นแบบง่าย ๆ มีดังนี้ 

  • ตรวจมิเตอร์ไฟฟ้า ถอดปลั๊ก ปิดสวิตซ์ไฟ ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในบ้าน จากนั้นดูมิเตอร์ไฟว่ายังหมุนอยู่ไหม หากยังหมุนอยู่ แสดงว่ามีไฟรั่ว ให้เรียกช่างมาซ่อมทันที 
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ เช่น เครื่องตัดไฟฟ้ายังทำงานปกติดีไหม ด้วยการกดปุ่ม test ถ้ายังใช้ได้ปกติ สวิตซ์หรือคันโยกจะตกลงมาทันที เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า (ควรกดทุ่มทดสอบนี้ทุก ๆ 1-3 เดือน) 
  • เช็คเบรกเกอร์ลูกย่อย ยังสามารถใช้ปลดวงจรไฟฟ้าได้หรือไม่ หากพบว่าทำงานผิดปกติ หรือมีการชำรุด รีบเปลี่ยนตัวใหม่ทันที 
  • เช็คสายไฟทุกจุด มีชำรุด ขาด เสียหายตรงไหนบ้าง โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนตามเพดาน เพราะมักจะเป็นจุดที่สัตว์จำพวก หนู และสัตว์อื่น ๆ มากัดแทะจนฉนวนได้รับความเสียหายหรือขาด 
  • ตรวจสอบเต้าเสียบ ดูว่ามีรอยไหม้ รอยแตกร้าว หรือเต้าเสียบหลวมหรือไม่ หากพบว่าเต้าเสียบหลวม ควรรีบทำการไขให้แน่น หรือเรียกช่างมาทำการเปลี่ยนใหม่ 

3. ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐานรับรอง มอก. 

อย่าเห็นแก่ของราคาถูก เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้ามีประโยชน์ในการใช้งาน แต่ก็มีโทษมหันต์เช่นกัน หากใช้อุปกรณ์ที่คุณภาพต่ำ หรือไร้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นสายไฟ ปลั๊กไฟ ปลั๊กพ่วง เบรกเกอร์ ตู้เมน ควรเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้มาตรฐาน มอก.ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีแบรนด์มาตรฐานระดับโลกรับรองไว้จำหน่าย ทำให้สามารถมั่นใจว่าจะได้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตด้วยวัสดุมีคุณภาพ ไม่ลามไฟ มีการติดตั้งสายดิน มีเบรกเกอร์ในตัว มีม่านนิรภัย ปลอดภัยต่อการใช้งาน ช่วยป้องกันการสูญเสียได้อย่างมหาศาล 

4. ติดตั้งระบบตัดไฟอัตโนมัติ 

กระแสไฟฟ้ามีความเสี่ยงต่อการเกิดขี้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นไฟช็อตหรือไฟดูดก็ตาม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องป้องกันให้ดีที่สุด และสามารถทำได้ง่าย ด้วยการติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ระบบตัดไฟอัตโนมัติ ซี่งเปรียบเสมือนฮีโร่ของบ้าน ที่ช่วยดูแลความปลอดภัยให้กับทุกคนในบ้าน 

5. นำเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นไว้บนที่สูง 

ยกอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มักจะวางไว้บนพื้นขึ้นไว้บนที่สูง และควรถอดปลั๊กออกด้วยทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟดูด หากมีการรั่วซึมของน้ำเข้ามาในบริเวณที่ตั้งวางของเหล่านั้น และหมั่นเช็คตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน ว่ามีน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้านหรือไม่ จะได้ทำการป้องกันได้อย่างเหมาะสม

6. ควรติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและทำการซ่อมแซมด้วยช่างเฉพาะทางเท่านั้น

ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใด ๆ ควรให้ช่างหรือผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น เพราะเรื่องไฟฟ้าต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดจะต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด และไฟช็อต หรือแม้กระทั่งไฟฟ้าลัดวงจร อย่าได้ซ่อมและติดตั้งระบบไฟฟ้าด้วยตนเอง 

7. ติดตั้งระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน 

สายดินเป็นอีกตัวช่วยที่เรียกได้ว่าเป็นพระเอกอีกชิ้นหนึ่งในการป้องกันไฟรั่ว โดยเฉพาะการปกป้องชีวิตคนจากการโดนไฟดูด เพราะหากมีไฟรั่ว แทนที่กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกาย แต่สายดินจะช่วยนำกระแสไฟฟ้าไหลลงสู่พื้นดินแทน ดังนั้นควรติดตั้งสายดินให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด โดยสามารถขอคำแนะนำจาก Sqdgroups.com ในเรื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ตั้งแต่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นทั้งหมดภายในบ้าน ไปจนถึงระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม เรียกได้ว่าติดต่อที่เดียวครบจบเรื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 

อย่าลืมว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดมีประโยชน์แต่ก็แฝงไปด้วยโทษมหันต์หากใช้งานไม่ระวัง และใช้อุปกรณ์ที่ไร้มาตรฐาน ยิ่งเป็นช่วงหน้าฝน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุไฟฟ้ารั่ว ไฟช็อต ไฟดูด ได้ง่าย ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะความประมาทเพียงน้อยนิด อาจทำให้เกิดการสูญเสียมหาศาล 

  • No Comments
  • September 5, 2022