19 C Mumbai
Wednesday 22nd January 2025
10 เชื่อผิดๆเกี่ยวกับการนอนหลับ มีอะไรบ้างมาดูกัน
By

10 เชื่อผิดๆเกี่ยวกับการนอนหลับ มีอะไรบ้างมาดูกัน

สวัสดีครับชาวขี้เซาทั้งหลาย สิ่งที่คุณเชื่อเกี่ยวกับการนอนหลับอาจเป็นแค่ความเชื่อเท่านั้น วันนี้เราจะมากล่าวถึง 10 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนอนหลับให้ฟังกัน

โดยนักวิจัยจาก NYU Langone Health’s School of Medicine ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Sleep Health ระบุว่า หลายๆคนมีความเชื่อเกี่ยวกับการนอนหลับอยากสุขภาพดีนั้นน้อย และ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราได้ ผู้นำนักวิจัย รีเบกก้า ร็อบบิ้นส์ นักวิจัยด้านดุษฏีบัณฑิตใน กรมอนามัย ร่วมกับเพื่อนร่วมงานของเธอ ได้สำรวจเว็ปไซต์ 8,000 แห่ง เพื่อค้นหาสิ่งที่ ทุกคนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ จากนั้นนำความเชื่อเหล่านั้นไปศึกษาต่อผู้เชี่ยวชาญทางด้านยานอนหลับที่ได้คัดเลือกมาอย่างดี และนี่คือ 10 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการนอนหลับ

1. ผู้ใหญ่ต้องการเวลานอน 5 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น

“ถ้าอยากทำงานให้เต็มที่ในระหว่างวัน ไม่ป่วย ให้สุขภาพจิตแข็งแรง มีวันที่ดี ต้องนอนกี่ชั่วโมง?”

เราควรนอนให้ได้ประมาณ 7 ถึง 10 ชั่วโมงในแต่ละคืน ขึ้นอยู่กับอายุของเรา แต่ทว่าศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (US Centers for Disease Control and Prevention) บอกว่าชาวอเมริกันหนึ่งในสามนอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืน จากสถิติของวันนอนหลับโลก มีมากกว่า 45% ของประชากรโลกที่ได้รับการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ 

ร็อบบินส์ยังกล่าวอีกว่า “เรามีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่าการนอนหลับอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อคืนหรือน้อยกว่านั้นอย่างเป็นประจำ จะเพิ่มความเสี่ยงอย่างมากต่อผลกระทบด้านสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ “โรคหลอดเลือดหัวใจ” และ “การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร”

โดยมีงานสำรวจจากข้าราชการกว่า 10,308 คน ที่ตีพิมพ์จากประเทศอังกฤษ นักวิจัยพบว่าผู้ที่ได้รับการนอนหลับน้อยกว่า 7-5 ชั่วโมงต่อคืน มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสองเท่า อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อมโยงการหลับไม่สนิทกับความดันโลหิตสูง ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การขาดความต้องการทางเพศ อารมณ์แปรปรวน ความหวาดระแวง ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงที่สูงขึ้นของโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม และมะเร็งบางชนิดอีกด้วย

2. ถ้านอนไม่พอนานๆ ร่างกายและสมองสามารถปรับตัวตามได้

ยังมีผู้คนหลายคนยังเชื่อว่าสมองและร่างกายสามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะทำงานได้ถ้าหากเรานอนน้อยเป็นประจำ นั่นก็เป็นความเชื่อผิดๆเช่นกัน โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นั่นเป็นเพราะว่าร่างกายของคุณจะหมุนเวียนผ่านช่วงการนอนหลับที่แตกต่างกันสี่ช่วงเพื่อฟื้นฟูตัวเองอย่างเต็มที่

ร็อบบินส์ กว่าวอีกว่า ระยะการนอนหลับที่สำคัญอีกขั้นหนึ่งคือการนอนหลับลึก เมื่อคลื่นสมองของคุณช้าลง หรือที่เรียกว่าคลื่นเดลต้า ถ้าการนอนหลับแบบคลื่นช้า มันจะทำให้ฮอร์โมนการเจริญเติบโตของเราถูกปล่อยออกมา ซึ่งแปลว่าถ้าเรานอนไม่พอมันจะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายของเราแปรปรวนได้ และ ในวิจัยยังกล่าวว่า การนอนหลับลึกมีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์ประสาท การซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซี่งเป็นการยากที่จะปลุกคนให้ตื่นจากการนอนหลับสนิท และเวลาคุณตื่นขึ้นคุณจะรู้สึกมึนงงและเหนื่อยล้า เป็นเวลานานถึง 30 นาทีเวลาคุณตื่นนอนเลยทีเดียว

3. ถ้านอนไม่หลับให้อยู่บนเตียงและพยายามข่มตานอนให้หลับ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับกล่าวว่าการนับแกะ เป็นเวลานานกว่า 15 นาทีไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ในความเป็นจริงแล้ว ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพควรใช้เวลาประมาณ 15 นาทีจึงจะหลับได้ หากมากกว่านั้นแล้วยังไม่หลับ คุณควรลุกจากเตียงเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและทำสิ่งต่างๆ เช่น การพับเสื้อผ้า แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเปิดไฟจ้าจนเกินไป แต่ควรหรี่แสงไฟลง และยังมีอีกหลายคนที่มีความเชื่อผิดๆ ว่าการนอนหลับตาแต่ไม่หลับก็ทำให้ร่างกายสดชื่นได้เหมือนกัน

4. นอนเวลาไหนก็ไม่สำคัญ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับกล่าวว่านั่นเป็นอีกความเชื่อผิดๆ ที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ และเสริมว่า “เราแนะนำว่าคนเราควรมีตารางการนอนเป็นประจำเพราะมันควบคุมสิ่งที่เราเรียกว่านาฬิกาชีวิตของเรา เพราะมันจะช่วยในการควบคุมฮอร์โมนทั้งหมดของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย การกินและการย่อยอาหาร และวงจรการนอนหลับ-ตื่น” เมื่อนาฬิกาชีวิตและโลกภายนอกของคุณไม่สัมพันธ์กัน คุณอาจรู้สึกสับสน เหนื่อย และง่วงนอนในบางครั้ง 

ในวิจัยกล่าวว่า คนทำงานเป็นกะ ซึ่งทำงานนอกเวลา และใช้ชีวิตไม่สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตปกติของพวกเขา โดยพวกเขามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ แผลในกระเพาะ ซึมเศร้า โรคอ้วน และมะเร็งบางชนิดเพิ่มขึ้น ตลอดจนอัตราการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานสูงขึ้น การบาดเจ็บอันเนื่องมาจากอัตราการตอบสนองที่ช้าลงและการตัดสินใจที่ผิดพลาด

5. การจำความฝันของคุณเป็นสัญญาณของการนอนหลับที่ดี

จากวิจัยในฝรั่งเศสพบว่า คนที่จำความฝันของตนได้บ่อยๆ มีการทำงานของสมองที่สูงกว่าในศูนย์กลางการประมวลผลข้อมูลของสมอง และพบอีกว่า พวกเขายังตื่นบ่อยเป็นสองเท่าในตอนกลางคืนและไวต่อเสียงมากขึ้นเมื่อหลับและตื่น

6. การกรนแม้อาจจะน่ารำคาญ แต่ไม่อันตรายอะไร 

ในเวลาคุณนอนหลับฝันอยู่ เสียงกรนดังลั่นอาจจะไปขัดขวางต่อระบบการหายใจ ทำให้หัวใจหยุเต้น ซึ่งอาการนี้เรียกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่อันตราย ซึ่งอาการเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย หอบหืด ความดันโลหิตสูง ต้อหิน มะเร็ง เบาหวาน โรคไต และความผิดปกติทางการรับรู้และพฤติกรรม 

ร็อบบินส์กล่าวว่า “ผู้ป่วยเหล่านี้นอนหลับแล้วตื่นครั้งแล้วครั้งเล่า จากนั้นพวกเขาก็ต้องเหนื่อยล้าทั้งวันจากการนอนหลับไม่เพียงพอ และเราเชื่อว่าสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อประชากรประมาณ 30% แต่เพียงแค่ประมาณ 10% ได้รับการวินิจฉัย”

7. สามารถนอนที่ไหนก็ได้ ทุกเวลาตามใจชอบ มันดีต่อสุขภาพ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับเผยว่า การผล็อยหลับไปทันที ในรถยนต์รถไฟ หรือที่อะไรก็ตามแต่ เป็นสัญญาณของบุคคลที่พักผ่อนไม่เต็มที่ 

ร็อบบินส์กล่าวว่า “การหลับในทันทีทุกที่ทุกเวลาเป็นสัญญาณว่าคุณนอนหลับไม่เพียงพอ และคุณกำลังเข้าสู่ ‘การนอนหลับแบบไมโคร’ หรือช่วงหลับสั้นๆ มันหมายความว่าร่างกายของคุณอ่อนล้ามากจนเมื่อใดก็ตามที่มีเวลา มันจะเริ่มทดแทนเวลานอนที่หายไปของมัน”

เมื่อคุณรู้สึกง่วงนอนเนื่องจากมีการสะสมของสารเคมีที่เรียกว่า อะดีโนซีนในสมอง ซึ่งเกิดขึ้นตลอดทั้งวัน และเมื่อคุณเข้าสู่ช่วงเวลากลางคืน การนอนหลับสนิทจะช่วยลดสารเคมีนั้นได้ ดังนั้นเมื่อคุณตื่นนอน ระดับเคมีจะอยู่ระดับที่ต่ำสุด และคุณจะรู้สึกสดชื่น แต่ถ้ายิ่งคุณตื่นนอนนานและนอนหลับน้อยลง ระดับอะดีโนซีนของคุณก็จะสูงขึ้น 

8. การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอนช่วยให้หลับสบายขึ้น

คุณคิดว่าการไปเที่ยวกลางคืนก่อนนอนจะช่วยให้คุณหลับสบายขึ้นไหม

 ร็อบบิ้นส์ กล่าวว่า แน่นอนว่าแอลกอฮอล์อาจช่วยให้คุณหลับได้ แต่ก็มีข้อเสียในเวลาเดียวกัน มันทำลดคุณภาพการพักผ่อนของคุณในตอนกลางคืนอย่างมาก และเขาเสริมว่า มันอาจจะทำให้คุณนอนหลับได้ลึกกว่า แต่เวลาคุณตื่นมันจะทำให้คุณรู้สึกพักผ่อนไม่เต็มที่

9. การดูทีวีบนเตียง

โดยร็อบบินส์อธิบายว่า “อุปกรณ์เหล่านี้ปล่อยแสงสีฟ้า และแสงสีฟ้านั้นคือสิ่งที่บอกให้สมองของเราตื่นตัวเหมือนในตอนเช้า” จากข้อมูลวิจัยของ National Sleep Foundation แสงสีฟ้าส่งผลต่อการหลั่งของเมลาโทนิน ฮอร์โมนการนอนหลับ มากกว่าความยาวคลื่นอื่นๆของแสง ซึ่งการดูทีวีหรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายใน 2 ชั่วโมงก่อนนอนหมายความว่าคุณจะหลับนานขึ้น แต่ว่าการฝันหรือการนอนหลับ REM น้อยลง และแม้ว่าคุณจะนอนแปดชั่วโมงขึ้นไป คุณก็จะรู้สึกง่วงนอน หากคุณหลีกเลี่ยงไม่สามารถตัดรอบสองชั่วโมงนั้นได้เนื่องจากการบ้านหรืองานที่ต้องทำงานในช่วงดึก ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หรี่ความสว่างของหน้าจอหรือตั้งค่าหน้าจอให้เป็นสีออกเหลืองหรือสีพระอาทิตย์ตกได้ โดยสีแดงและสีเหลืองมีความยาวคลื่นสูงกว่าและไม่ส่งผลต่อเมลาโทนิน

10. เวลานาฬิกาปลุก สามารถงีบอีกนิดได้ คุณไม่จำเป็นต้องลุกจากเตียงทันที

ร็อบบินส์กล่าวว่า เราควรจะเลี่ยงงีบหลังจาก นาฬิกาปลุก เพราะว่าถ้าคุณกลับไปนอนมันจะเป็นการนอนที่ได้ผลไม่ดีเท่าไหร่นัก 

นักวิจัยกล่าวว่า เมื่อคุณใกล้สิ้นสุดเวลาการนอนหลับ ร่างกายของคุณก็จะสิ้นสุดวงจร REM เช่นกัน ถ้าหากคุณกดปุ่มเลื่อนปลุก สมองจะกลับสู่วงจร REM อีกรอบ ดังนั้นเมื่อเสียงปลุกดังขึ้นในไม่กี่นาทีต่อมา คุณจะไม่ได้อยู่จุดสิ้นสุด ของวงจรนั้น และคุณจะตื่นขึ้นด้วยอาการเหนื่อยล้ามึนงงและอยู่อย่างนั้นนานขึ้น

  • No Comments
  • March 28, 2020